วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

FOOD INFORMATION CENTER


ผักกูด ธาตุเหล็กสูง สารอาหารเพียบ ไม่กินคือพลาด
 ผักกูดไม่ใช่ผักทั่วไป แต่เป็นพืชตระกูลเฟิร์น ตามที่ภาษาอังกฤษเรียกผักกูดว่า Small Vegetable Fern 
หรือ Paco Fern ส่วนชื่อทางวิทยาศาสตร์ของผักกูดคือ Diplazium esculentum (Retz.) Swartz. อยู่ในวงศ์ Athyriaceae
กองโภชนาการ กรมอนามัย ได้แสดงคุณค่าทางโภชนาการของผักกูดสด ปริมาณ 100 กรัม ดังนี้
- พลังงาน 25 กิโลแคลอรี                 - น้ำ 93.7 กรัม
- โปรตีน 1.7 กรัม                          - ไขมัน 0.4 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 3.6 กรัม                  - ใยอาหาร 1.4 กรัม
- แคลเซียม 5 มิลลิกรัม                    - วิตามินซี 15 มิลลิกรัม                                           
- ฟอสฟอรัส 35 มิลลิกรัม                 - ธาตุเหล็ก 36.3 มิลลิกรัม
- เบต้าแคโรทีน 681 ไมโครกรัม          - วิตามินเอ 113 ไมโครกรัม
- วิตามินอี 2.05 มิลลิกรัม                 - ไทอะมีน 0.34 มิลลิกรัม
- ไรโบฟลาวิน 0.08 มิลลิกรัม             - ไนอะซิน 0.5 มิลลิกรัม    
สรรพคุณดี ๆ ที่อยากบอกต่อ
- มีธาตุเหล็กสูง ช่วยบำรุงโลหิต แก้โรคโลหิตจาง
- ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุอาหารได้ดีขึ้น
- มีรสเย็น ดับร้อนในร่างกาย ลดไข้
- บำรุงสายตา
- ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
- เส้นใยอาหารสูง จึงช่วยการทำงานของระบบย่อยอาหาร และการขับถ่าย
- ขับปัสสาวะ
- ดูดซับสารพิษตกค้างในร่างกาย
- ต้านอนุมูลอิสระ
- ลดความดันโลหิตสูง
- ลดคอเลสเตอรอลในเลือด
ผักกูดเป็นผักที่มีธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีน ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินซ๊ และวิตามินอีค่อนข้างสูง เป็นผักเพื่อสุขภาพที่ให้สารอาหารสำคัญต่อร่างกายค่อนข้างหลากหลาย ดังนั้นก็ควรกินบ่อย ๆ สลับกับผัก ผลไม้ชนิดอื่น เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน
ข้อควรระวังในการกินผักกูด
ผักกูดเป็นผักที่ไม่ควรกินสด เนื่องจากสารออกซาเลตในผักกูดอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคนิ่วและโรคไตอักเสบได้ ดังนั้นควรปรุงสุก
ขอขอบคุณ
ข้อมูลจาก: กองโภชนาการกรมอนามัย , สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี , เดลินิวส์ , สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ , โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
ภาพจาก: เว็บไซต์กระปุก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น